
Lava & Lapis are coming to the friends’ towns
Lava & Lapis are coming to the friends’ towns ไม่ใช่หนังสือนิทานภาษาอังกฤษธรรมดา แต่เป็น activity book ที่เล่าเรื่องราวของ 2 พี่น้อง ลาวา (Lava) และ ลาพิส (Lapis) ที่เดินทางไปท่องเที่ยวตามเมืองของเพื่อนซึ่งเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ ในหนึ่งวัน
โดยที่เด็กๆ จะได้มีส่วนร่วมช่วยลาวาและลาพิส คิดหาคำตอบของคำถามที่จะพบเจอในแต่ละเมืองด้วย
ในส่วนท้ายของเล่มยังมีเกมและกิจกรรมเสริมทักษะให้ได้เล่นสนุกอีก 4 เกม

อ่าน Lava and Lapis เล่มนี้ แล้วจะได้อะไรบ้าง?
1. ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์
2. รู้จักกับ concept ของเวลา และความเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาเปลี่ยนไป
3. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
4. คำศัพท์ต่าง ๆ เช่น ชื่อสัตว์ สี รูปร่าง สถานที่
5. ฝึกความจำ และการเรียนลำดับเหตุการณ์
6. ฝึกการสังเกต
7. และอื่น ๆ อีกมากมายบรรยายไม่หมด
(สั่งซื้อทางเพจ Facebook)
Lava and Lapis are coming to friends’ towns ได้รับเป็นหนังสือแนะนำในเพจ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2564
คำนิยมจากคุณหมอประเสริฐที่มีให้กับนิทาน Lava&Lapis
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นสำหรับเด็กเล็กเรียนรู้โลกและพัฒนาตัวเองเข้าสู่โลก
หลักการพื้นฐานคือเริ่มต้นด้วยตัวละครหลัก (protagonists) ที่เป็นศูนย์กลางของหน้ากระดาษคือเห็นตนเองเป็นศูนย์กลาง (self-centered)
และเมื่อเปรียบเทียบโดยสัมพัทธ์ (relative) กับพื้นที่ด้านซ้ายของภาพจะพบว่าตัวเรา (me) อยู่ที่ขอบของโลก (world) นี่คือทารกและเด็กเล็กในตอนเริ่มต้น ตนเองตัวเล็กในขณะที่โลกกว้างใหญ่
ด้วยการสวมรอย (identify) ตัวเอกของหนังสือ ตัวเอกสองคนหรือเราเดินไปในโลกพบวัตถุอื่นๆ (objects) วัตถุอื่นมีสี (color) และรูปร่าง (shape) เป็นคุณสมบัติ (properties) พื้นฐานของวัตถุทั่วไป
เด็กสองคนผ่านสีและรูปร่างไปทีละหน้าๆ โดยที่เรามิได้จำเป็นต้องเจตนาชี้ชวนให้ดู ขอเพียงอ่านไปเรื่อยๆ เขาจะค่อยๆ ดูดซับวัตถุต่างๆ ไปเรื่อยๆ เช่นกัน
รูปร่างของสัตว์อื่น และรูปร่างของโลกแต่ละโลกที่เขาผ่านไปพบเห็น ดีกว่านั้นคือแต่ละหน้าที่ผ่านไปเด็กสร้างสัมพันธ์กับวัตถุทีละชิ้น ในที่นี้คือสัตว์ทีละตัว (relation) ด้วยการเกาะกลุ่มกันไปเรื่อยๆ (object relation)
หนังสือยังไม่จบแม้ว่าเราอาจจะรู้สึกได้ว่าโลกกว้างใหญ่และมีรูปร่างมากมาย การเปลี่ยนสถานที่ (space) หรือตำแหน่ง (placement) ยังเป็นจุดหักมุมในตอนท้ายซึ่งจะนำเราไปรู้จักสิ่งที่เรียกว่าเวลา (time)
โดยที่มีวัตถุมากมายอยู่ในเวลา มากไปกว่านั้นคือวัตถุเหล่านั้นยังคงมีสิ่งที่เรียกว่าคุณสมบัติคงที่แม้จะอยู่ในเวลาหรือเปลี่ยนเวลา เราเรียกว่าความสามารถในการคงสภาพ (conservation) อันจะเป็นหมุดหมายสำคัญของพัฒนาการ
หนังสือนิทานสำหรับเด็กเล็กที่ดีเพียงเล่าไป ตัวรูปภาพที่เห็นจะไปพัฒนาความจำใช้งาน (working memory) สองส่วน
ส่วนแรกคือความจำใช้งานด้านภาพ (visuospatial sketchpad) ซึ่งเปรียบเสมือนกระดานชนวนที่เขียนไว้ครู่หนึ่งแล้วลบเขียนใหม่ได้ ส่วนที่สองคือความจำใช้งานด้านเสียง (phonological loop) ซึ่งเปรียบเสมือนวงจรเสียงที่วนซ้ำในตัวเองก่อนที่จะเลือนหายไปอีกเช่นกัน
เพราะความจำใช้งานมิใช่ความจำถาวรแต่เป็นโครงสร้างของการลื่นไหล (fluidity) ของความจำใช้งานที่เด็กๆจะต้องพร้อมใช้เมื่อต้องใช้ การทำซ้ำของภาพและเสียงเป็นกลไกสำคัญของนิทานประกอบภาพสำหรับเด็ก เล่มนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง
นิทานประกอบภาพที่ดีควรทำภาษาเดียวจะช่วยพัฒนาการของความจำใช้งานได้ดีกว่า มีความลื่นไหลและมีความสอดคล้องระหว่างกระดานภาพและวงจรเสียง
ตัวอย่างเนื้อหาในเล่ม
มินิเกม 4 เกม ท้ายเล่มที่ทั้งสนุกและมีประโยชน์ ช่วยกระตุ้นทักษะต่างๆ ของเด็กอย่างหลากหลาย
(สั่งซื้อทางเพจ Facebook)
FAQ
ใช้ได้แต่แรกเกิด จนถึงประมาณ 5 ขวบ
แต่ละช่วงอายุจะมีเทคนิคการอ่านนิทาน Lava & Lapis ที่แตกต่างกัน ดังนี้
-
เด็กแรกเกิด เด็กเล็ก – พ่อแม่เน้นอ่านให้ฟัง ให้เด็กใช้ ตาดู หูฟัง มีส่วนร่วมกับพ่อแม่
-
เด็ก 2.5 ปีขึ้นไป – เพิ่มการชี้นำให้เด็กลองสังเกตรูปภาพและเริ่มตอบคำถาม
-
เมื่อเด็กพร้อม – ให้มีส่วนร่วมในนิทานด้วยตนเองมากขึ้น และพ่อแม่พยายามไม่ชี้นำอะไร เพื่อให้เด็กแสดงศักยภาพให้เต็มที่
-
หนังสือนิทาน Lava & Lapis เป็นหนังสือ ปกอ่อน
ขนาด 9×9 นิ้ว ตัดมุมโค้งมุม ไม่บาดมือ
มีจำนวนหน้า 31 หน้า

(สั่งซื้อทางเพจ Facebook)